บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา : ณัฐพล เจริญต่อกิจ | เผยแพร่เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ถ้าอยากแขวนมวลสารสมเด็จจิตรลดาแท้ๆ แต่เรายังไปไม่ถึง จะด้วยเหตุใดก็ตาม ขอให้เลือกใช้พระองค์นี้ครับ
หนึ่งในอมตะพระเครื่องในพระราชทินนามสมเด็จพระญาณสังวร “อรหังกลีบบัว”
ถ้าเป็นเซียนใหญ่สายนี้จริง คงแยกแยะออกว่า “ใช่ผงจิตรลดาหรือไม่” ถ้าตอบว่า “ไม่” แสดงว่ารู้ไม่จริง
จิตรลดาที่จับต้องได้
สมเด็จกลีบบัว ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ปี ๒๕๓๑
ในการจัดสร้าง ด้วยทรงสมณศักดิ์พระราชทินนาม “สมเด็จพระญาณสังวร” ที่ปรึกษาวิปัสนาธุระของพระเจ้าแผ่นดิน
พระราชทินนามนี้ หาได้เคยนำมาใช้ ตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ด้วยซึ่งเป็นพระอาจารย์ในรัชกาลที่ ๒ จึงได้ถวายราชมินนามให้สมพระเกียรติ และสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะเวลาว่างเว้นในพระราชทินนามนี้มาถึง ๖ รัชกาล ถึงปี ๒๕๑๕ เป็นเวลายาวนานถึง ๑๕๐ ปี
ในสมัยรัชกาลที่ ๙ จะทรงสถาปนาพระสงฆ์รูปหนึ่ง พระสาสนโสภณ ให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ และได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งถึงสองครั้ง จึงได้ถวายพระเกียรติสถาปนาตำแหน่งในราขทินนามนี้ว่า “สมเด็จพระญาณสังวร” ขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระสมเด็จนี้ เป็นการสร้างตามแบบสมเด็จกลีบบัววัดพลับ ในสมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) นั่นเอง
พระได้สร้างด้วยมวลสารผงจิตรลดาในรัชกาลที่ ๙ ที่เข้มข้นมาก และมวลสารของเกจิอาจารย์แห่งยุค อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และจากครูบาอาจารย์สายวิปัสสนา เพื่อรำลึกถึง สมเด็จพระสังฆราช สุก
“สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนิติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ “