• หน้าหลัก
  • รับเช่า – รับซื้อ
  • มุมแบ่งปัน
  • หน้าหลัก
  • รับเช่า – รับซื้อ
  • มุมแบ่งปัน
Homeตามรอยแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ รุ่นตำนาน หายาก ...
Previous Next

ตามรอยแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ รุ่นตำนาน หายาก

November 17, 2017

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: GMLive | เผยแพร่เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
ผู้เขียน: อนันต์ ลือประดิษฐ์
ช่างภาพ: ดำรงค์ฤทธิ์ สถิตดำรงธรรม

ตามรอยแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ รุ่นตำนาน หายาก

คนไทยคุ้นเคยกับบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกันเป็นอย่างดี ยามเมื่อท่วงทำนองของบทเพลงดังกังวาน ไม่ว่าจะผ่านเครื่องเสียงชุดใด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่แห่งไหน เราต่างร้องฮัมตามได้อย่างเป็นธรรมชาติ นั่นเป็นเพราะบทเพลงของพระองค์ท่านเป็นเสมือนบทเพลงของแผ่นดิน ที่มีการร้องขับขานมาเนิ่นนาน จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งแม้หลายคนจะรับรู้ถึงความเป็นมาของบทเพลงทั้ง ๔๘ เพลง ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร แต่คงมีไม่กี่คนนักที่พอจะสืบค้นได้ว่า ผลงานบันทึกเสียงยุคแรกๆ ของบทเพลงพระราชนิพนธ์นั้นเป็นเช่นใด ซึ่งมาจากเงื่อนไขและข้อจำกัด ทั้งในด้านหลักฐานชั้นต้น กาลเวลา และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

เรื่องนี้สมควรที่จะต้องมีแหล่งเรียนรู้เพื่อบันทึกเรื่องสำคัญนี้ไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อติดตามค้นหาบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ได้รับการบันทึกเสียงรุ่นแรกๆ บ่ายวันหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ GM จึงมีนัดหมายกับสุภาพบุรุษนักสะสมแผ่นเสียงท่านหนึ่ง บุคคลผู้นี้เป็นที่ยอมรับในวงการนักสะสมแผ่นเสียงว่าเขาคือตัวแทนของคนที่คลุกคลีอยู่กับแผ่นเสียงมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะสมแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์

วันนั้น สุกิจ โรจนพันธุ์ วัย ๗๑ ปี ต้อนรับทีมงาน GM ณ นิวาสสถานของเขา ตั้งอยู่ในย่านบางแค กรุงเทพฯ ด้วยการเปิดกรุของสะสม เป็นแผ่นเสียงเก่าบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่หาชมได้ยาก ซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ทีมงานเป็นอย่างมาก

“อันนี้เป็นแผ่นตรากระต่าย และเบอร์ ๘๑๐๑ คือเพลง ‘สายฝน’ กับอีกหน้าหนึ่งคือเพลง ‘ยามเย็น’ ซึ่ง ครูนารถ ถาวรบุตร เป็นคนเรียบเรียงและเป็นผู้จัดดนตรี ครูนารถท่านเป็นปรมาจารย์ใหญ่ ท่านเล่นเพลงพระราชนิพนธ์หลายเพลงเหมือนกัน นอกจาก ๒ เพลงนี้ ก็ยังมีเพลงอื่นๆ อีกด้วย” นักสะสมแผ่นเสียงรุ่นใหญ่เริ่มต้นเล่ารายละเอียดให้ฟัง

สุกิจหยิบแผ่นครั่ง (Shellac Records) สภาพดีมาแสดงให้ชม แผ่นพวกนี้ถูกเก็บรักษาไว้ในกล่องแข็งที่ใช้บรรจุแผ่นโดยเฉพาะ ประมาณการว่า ตัวแผ่นน่าจะผลิตขึ้นในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) หรือหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงได้ราว ๓ ปี ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีการผลิตแผ่นเสียง (Vinyl) ออกมา ดังนั้น แผ่นครั่งซึ่งโดยปกติ ‘ตกแล้วแตก’ ที่ตกทอดมาจนถึงวันนี้ จึงมีอยู่ไม่มากนัก

ธำรง จั่นเพ็ชร์ เจ้าของร้านแผ่นเสียง Rider Records บนถนนราชพฤกษ์ ซึ่งคุ้นเคยกับเพื่อนรุ่นพี่อย่างสุกิจ ได้มาร่วมสังเกตการณ์ในวันนั้น เขาช่วยเสริมว่า ยุคนั้นแผ่นเหล่านี้ผลิตจำนวนน้อย เพียง ๒๐๐ กว่าแผ่นเท่านั้น และเหตุที่ต้องระบุจำนวนแผ่น เพราะส่วนหนึ่งต้องถวายรายได้ต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสภาพ Rare & Real เช่นนี้ ทำให้ GM อดสงสัยถึงการเดินทางของแผ่นครั่งเหล่านี้ไม่ได้ว่า แล้วตกทอดมาอยู่ในความครอบครองของสุกิจได้อย่างไร

“ผมเป็นคนที่ชอบฟังเพลง เลยเก็บแผ่นเสียง เก็บมาเยอะ แต่ในช่วงแรกๆ ยังไม่ได้เก็บอะไรมากมาย เพราะถือว่าเป็นของที่มีราคาแพง แต่พอได้ทำงาน มีเงินเดือน ก็เริ่มซื้อสะสม สมัยนั้นเงินเดือนจบปริญญาตรี ๙๐๐ กว่าบาท แผ่น Long Play (Vinyl) สมัยนั้นราคาประมาณ ๙๐-๑๐๐ บาท ก็เกือบ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนแล้ว ๒-๓ เดือน ก็ซื้อที เป็นลักษณะอย่างนั้น ตอนแผ่นเสียงดังๆ อยู่ในเมืองไทย สักช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๐ ในช่วงนี้ แผ่นเสียงยังรุ่งเรืองอยู่

แต่พอเทปคาสเซตเข้ามา ร้านแผ่นเสียงก็เริ่มเลิกรา ในช่วงที่ผมซื้อมาได้มากๆ ก็เป็นช่วงจังหวะนี้ ถือว่าเป็นจังหวะที่ดี เพราะร้านแผ่นเสียงกำลังเลิกกิจการ ผมก็ตะลอนไปตามร้านแผ่นเสียงต่างๆ ร้านแผ่นเสียงแถวถนนเจริญกรุง เยาวราช ผมเดินไปซื้อตามร้านที่เขากำลังเลิกนี่แหละ เพราะเขาจะลดราคา ขายถูก”

สุกิจเริ่มจากการสะสมแผ่นเสียงทั่วไปก่อน พร้อมๆ กับสะสมแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ด้วย แต่ต้องใช้เวลา เนื่องจากแผ่นเพลงพระราชนิพนธ์ไม่ได้ผลิตออกมาจำนวนมากนัก

“เพลงในหลวง เป็นเพลงที่ไพเราะและเล่นยาก ดีกว่าเพลงทั่วๆ ไปเยอะ ซึ่งของแบบนี้เราก็อยากได้ ต้องมีมาเก็บไว้ แล้ววงดนตรีที่เล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์จะต้องเป็นวงใหญ่ๆ เพราะเป็นเพลงสูง เราก็จะได้ฟังดนตรีที่ดี เสียงดี ซึ่งพอนำมาอัดเป็นแผ่นเสียง จะเสียงดี ไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับตัวแผ่นครั่ง บริษัทที่อัดแผ่นเสียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของเราในสมัยนั้นด้วย”

“ตอนนั้น แผ่นเพลงในหลวงไม่ค่อยแพงมากเท่าไร เพราะคนไม่ค่อยเล่นกัน อาจจะเป็นเพราะเพลงฟังยาก … ” จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับแผ่นเสียงมายาวนาน นักสะสมของลายครามท่านนี้ สรุปว่าแผ่นครั่งบทเพลงพระราชนิพนธ์มีอยู่ด้วยกัน ๔ ตรา คือ ตรากระต่าย, ตราสุนัข, ตราโคลัมเบีย และ ตรา อ.ส.

“ตรากระต่าย ทำออกมาหลายเบอร์ รวม ๑๓ แผ่น ซึ่งเป็นของห้าง ต.เง็กชวน ในตอนนี้ก็มีราคาแพงมาก และหาไม่ได้แล้ว เพราะทุกคนเก็บหมด แผ่นตรากระต่ายนั้น บางทีเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีคนร้องหลายคน หรือมีหลายวงดนตรี

ถัดมาก็จะมีตราสุนัข คือตราสุนัขจะต่างจากตราทั่วไป เพราะเขาทำเป็นสีพื้นเป็นสีขาว (สำหรับบทเพลงพระราชนิพนธ์) ซึ่งตราสุนัขตั้งแต่รุ่นแรกจะเป็นสีดำ คือสีดำตรงพื้น แต่ตัวสุนัขจะเป็นสีขาวหมด ซึ่งตรานี้ก็จะมีหลายสี ตั้งแต่สุนัขดำ สุนัขเหลือง สุนัขขาว สุนัขเขียว สุนัขแดง เพราะแต่ละสีคือคนละบริษัททำ ผู้จัดจำหน่ายคนละเจ้า

ส่วนที่เราเรียกกันว่า สุนัขขาว เพราะเป็นพื้นสีขาว ซึ่งสุนัขขาวเป็นของบริษัทนำไทย เขาจะทำเพลงพระราชนิพนธ์ โดยมีวงกรมโฆษณาการเป็นผู้บรรเลง ในส่วนของสุนัขขาว มีอยู่ ๒ แผ่น เบอร์แรกจะมีเพลง ‘ใกล้รุ่ง’ เขาใช้เบอร์ ๑๐๐๐ เป็นเสียงร้องของสุนทราภรณ์ (เอื้อ สุนทรสนาน) อีกหน้าหนึ่งเพลง ‘สายฝน’ เป็นเสียงร้องของ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี (บันทึกในจังหวะวอลซ์) อีกเบอร์หนึ่ง (Job1001) ก็จะมีเพลง ‘ชะตาชีวิต’ ร้องโดย วินัย จุลละบุษปะ อีกหน้าหนึ่งเป็นเพลง ‘ยามเย็น’ ร้องโดย ชวลี ช่วงวิทย์

หลังจากนั้น จะเป็นตราโคลัมเบีย เป็นของบริษัทกมลสุโกศล ผลิตไว้ ๘ แผ่น ซึ่งเขาผลิตแผ่นเสียงเพลงไทยเพลงอื่นๆ เหมือนกัน ไม่ได้มีเฉพาะเพลงพระราชนิพนธ์ แล้วก็ใช้รูปตราโคลัมเบียเหมือนกัน อย่างแผ่นนี้ (เพลง Blue Day) ผลิตในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ อย่างเพลง ‘สายฝน’ ที่ร้องโดยคุณเพ็ญศรี ก็อยู่ในตรานี้ เบอร์ ๕๐๐๖ ซึ่งจะเป็นจังหวะสวิง บรรเลงโดยวงกรมโฆษณาการเช่นเดียวกัน สำหรับวงดนตรีที่บรรเลงให้แก่ตรานี้จะมี ๒ วง คือ วงของกรมศิลปากร กับวงกรมโฆษณาการ”

แผ่นครั่ง ตรา อ.ส. น่าจะมาทีหลังสุด ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๗ ซึ่งมีอยู่ ๙ แผ่นด้วยกันนับจากนั้น ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔ เทคโนโลยีการผลิตแผ่นเสียงเริ่มเปลี่ยนแปลง มีการทำแผ่นเสียงด้วยวัสดุแบบผสม ระหว่างครั่งกับไวนิล ก่อนจะเปลี่ยนมาผลิตด้วยวัสดุไวนิลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

“เริ่มต้นจากแผ่นความเร็ว ๗๘ ก่อน ตามมาด้วยแผ่น Long Play แผ่นพวกนี้ส่วนใหญ่จะทำที่เมืองนอก อย่างอินเดียและอังกฤษ แต่แผ่นที่ไม่ใช่เมืองนอกก็มี อย่างของโรงงานศรีกรุง แต่คุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะตัวเนื้อครั่งของเขาไม่ค่อยดี ถึงเป็นแผ่น Long Play (Vinyl) ก็ไม่ค่อยดีนัก”

ในยุคเริ่มต้นของแผ่นเสียงไวนิล สุกิจมีโอกาสสะสมแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ไว้ราว ๓๐ แผ่น มีทั้งศิลปินไทยและศิลปินต่างชาติ เป็นที่สังเกตว่า ศิลปินต่างชาติส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวฟิลิปปินส์

“เท่าที่ผมเคยอ่านหนังสือมา แผ่นของคาเธ่ย์ เขาจะอัดในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๗ ซึ่งก็น่าจะเป็น Long Play เพลงพระราชนิพนธ์ แผ่นแรกๆ นอกจากนี้ เขายังผลิตแผ่นเล็กสปีด ๔๕ ออกมาอีกด้วย เพื่อให้คนหาซื้อได้ง่าย เนื่องจากราคาไม่สูง ผมก็จะมีแผ่นเล็กสปีด ๔๕ อยู่ ๔ แผ่น”

มาจนถึงวันนี้ ทั้งแผ่นครั่งและแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีอยู่ในครอบครอง ประกอบด้วยแผ่นครั่งประมาณ ๓๐-๔๐ แผ่น, แผ่น Long Play ประมาณ ๓๐ แผ่น, แผ่นเล็กอีกราว ๑๐ กว่าแผ่น, แผ่น CD ๕๐ แผ่น และเทปคาสเซตอีกนิดหน่อย ได้กลายมาเป็นความภาคภูมิใจของนักสะสมคนนี้ ที่มีโอกาสได้สะสมสิ่งของที่มีคุณค่าทางจิตใจ และมิอาจประเมินเป็นมูลค่าเงินได้

“ตอนนั้นไม่ได้คิดเรื่องมูลค่า คือเราซื้อเพราะชอบฟังเพลง ฉะนั้นอะไรที่เป็นเพลงเราก็เก็บ โดยเฉพาะเพลงของในหลวงยิ่งต้องเก็บ เพราะเป็นเพลงที่ดีและฟังยาก บางแผ่นได้มาก็แปลกๆ นะ อย่างเพลงพระราชนิพนธ์แผ่นเล็ก ความเร็ว ๔๕ แต่ร้องเป็นภาษาจีน (โดย หลิวเฟิง) ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นเท่าไร ดนตรีก็พอได้นะ ทีนี้เราฟังไม่ออก ก็เลยเก็บๆ ไว้ ซึ่งเป็นแผ่นเก็บที่แปลก

“อย่างอันนี้เป็นเพลง ‘ยามเย็น’ กับเพลง ‘สายฝน’ ตรากระต่าย ซึ่งก็ไม่ค่อยเจอเหมือนกัน เขาเขียนไว้ว่าขับร้องและบรรเลงโดยศิลปินตรากระต่าย ซึ่งไม่บอกว่าคือใคร แต่ผมฟังดูแล้วรู้ว่าเป็นเสียงร้องของ จินตนา สุขสถิตย์ ซึ่งสมัยก่อนคุณจินตนาร้องอยู่กับวงวายุบุตร เพราะฉะนั้น เพลงนี้ผมก็เข้าใจว่าวงวายุบุตรนั่นแหละที่บรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นแผ่นที่หายาก ไม่ค่อยได้เจอ”

จากประสบการณ์ที่ได้สะสมและฟังเพลงพระราชนิพนธ์ สุกิจสะท้อนความประทับใจให้ฟังว่า “บทเพลงของพระองค์ท่าน เป็นเพลงที่ล้ำยุคล้ำสมัย ในสมัยก่อน เพลงที่เราฟังกัน เราจะไม่ได้ยินทำนองอย่างนี้ คือคนไทยเราจะไม่คุ้นกับทำนองแบบนี้ เพราะฉะนั้น เราก็จะสะดุดหู แม้แต่คนร้องเองก็ร้องได้ยาก เพราะนักร้องส่วนใหญ่จะชินอยู่กับการใช้เสียงแบบไทยๆ แต่อันนี้เป็นเสียงที่ออกแนวฝรั่ง ซึ่งทำให้ร้องยาก เล่นบรรเลงก็ยาก เพลงที่ผมชอบคือเพลง ‘ในดวงใจนิรันดร์’ ท่านประพันธ์ได้ไพเราะนิ่มนวล อย่างเพลง ‘ชะตาชีวิต’ ผมฟังบ่อยจนกระทั่งชิน แต่ทีนี้คนไทยจะไม่ค่อยชิน เพราะจังหวะการร้องแตกต่างออกไป เป็นจังหวะของเพลงบลูส์ (Blues)

“ในการถ่ายทอดบทเพลงพระราชนิพนธ์ ถ้าให้พูดถึงนักร้องและวงดนตรีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ ต้องนี่เลย นาซิง อากีลาร์ เพราะเล่นเนี้ยบมาก ชั้นหนึ่ง คือวงนี้เขาเล่นอยู่ตามบาร์แถวพัฒน์พงศ์ อีกคนก็คือน้องชายเขา ชื่อ โทนี อากีลาร์ ซึ่งเป็นพ่อของ คริสตินา อากีลาร์ นี่แหละ สมัยนั้นเขาเปิดบาร์เอง คนก็ไปฟังกันเยอะ แต่โทนีไม่ค่อยได้อัดเท่าไร มีแต่นาซิง อากีลาร์ ที่อัด ซึ่งเล่นดีมาก

ศิลปินต่างชาติคนอื่นๆ ผมชอบวง Carnegie Hall Jazz Band ฟังแล้วมันมาก ส่วนถ้าออกมาทางคลาสสิก ผมชอบวง NHK ฟังเพราะ ฟังเพลิน…”

ท้ายน้ำเสียงของคำบอกเล่าในช่วงบ่ายวันนั้น บ่งบอกถึงความสุขอย่างเรียบง่ายภายในจิตใจของ สุกิจ โรจนพันธุ์ นักสะสมแผ่นเสียงที่มีโอกาสเก็บรักษาและดูแลแผ่นเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์รุ่นตำนานเหล่านี้ไว้ในสภาพดีอย่างน่าอัศจรรย์


Post Views: 426
  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Tags: รัชกาลที่ ๙, เพลงพระราชนิพนธ์, แผ่นเสียง

Related Posts

เพลงพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ปัจจุบันนี้ มีผู้คนจำนวนมากที่สะสมสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ ๙ ซึ่งของที่นิยมสะส ...

สุดยอด “ปฏิทินธนชาต” นำ ๑๓ บทเพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง ใส่เทคโนโลยี AR ฟังเพลง-ชมภาพเคลื่อนไหวได้

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  marketingoops.com | เผยแพร่เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๘ “ป ...

เปิดลายพระหัตถ์ความทรงจำ ในสมุดโน๊ตของ รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ ผู้เคยถวายงานในหลวง ร.๙

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: PRAEW.COM | เผยแพร่เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ เรื่องและภาพ: SRI ...

Comments

comments

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

About Mongkol Pandin

  • รับเช่าล็อกเก็ตและพระในหลวง
  • ขอบคุณผู้เขียนและเจ้าของภาพ
  • เสาะหามาสะสม
  • รู้จักกับเรา

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙

  • พระราชประวัติ ในหลวง รัชกาลที่ ๙
  • พระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจ
  • พระบรมราโชวาท
  • พระราชนิพนธ์ ร.๙
  • ภาพวาดฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ ๙
  • ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ร.๙
  • พระราชพิธีพระบรมศพ ร.๙
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล ร.๙
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงสร้าง
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงเสด็จฯ เททอง
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงผนวช
    • พระเครื่องที่มีพระปรมาภิไธย ภปร.
    • พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา
    • พระบรมรูปรัชกาลที่ ๙
  • ล็อกเก็ตรัชกาลที่ ๙
  • ภาพในหลวง รัชกาลที่ ๙
  • เข็มกลัดรัชกาลที่ ๙
  • เหรียญรัชกาลที่ ๙
  • ๕ ธันวามหาราช
  • หนังสือเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๙
  • ของสะสมเกี่ยวกับ ร.๙

พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

  • รัชกาลที่ ๕
  • รัชกาลที่ ๙
  • รัชกาลที่ ๑๐
  • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
  • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

ล็อกเก็ต

  • รับซื้อล็อกเก็ต
  • ล็อกเก็ตหลังลายเซ็น รัชกาลที่ ๙
  • ล็อกเก็ตวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
  • ล็อกเก็ตพระมหามณฑป
  • ล็อกเก็ตวัดญาณสังวราราม
  • ล็อกเก็ตจตุรเสนาสมาคม
  • ล็อกเก็ตศูนย์รวมเสียงชาวพุทธ
  • ล็อกเก็ตพระเกจิ
  • ล็อกเก็ตรูปถ่าย
  • ล็อกเก็ตไม่ทราบที่

พระเครื่องและวัตถุมงคล

  • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

ศิลปะและของสะสม

  • ของที่ระลึกและของสะสม
  • ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย
  • เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก
  • แสตมป์ โปสการ์ด ตราประทับ
  • กระปุกออมสิน
  • ธนบัตร
  • ปฏิทิน
  • พระบรมรูป
  • ศิลปะ
  • หนังสือ

เก็บมาเล่า

  • บันทึกเพื่อศึกษา
  • ประวัติการจัดสร้าง
  • นักสะสม

ผู้สนับสนุน

ผู้เยี่ยมชม

Flag Counter

เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุมงคลและของที่ระลึกเกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ ๙ เกิดขึ้นจากศรัทธาจิต และความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙

Contact Me.

ติดต่อกับเราได้ง่ายๆ เพียงกด Add Friends ที่สติ๊กเกอร์ด้านล่าง

Facebook Page.

มงคลแผ่นดิน : วัตถุมงคลในหลวง

Copyright © 2017 Design by mongkolpandin.com
  • หน้าแรก
  • ขอบคุณผู้เขียน
  • รู้จักกับเรา
  • ติดต่อเรา