• หน้าหลัก
  • รับเช่า – รับซื้อ
  • มุมแบ่งปัน
  • หน้าหลัก
  • รับเช่า – รับซื้อ
  • มุมแบ่งปัน
Home๙ เรื่อง ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่เราไม่เคยรู้ ...
Previous Next

๙ เรื่อง ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่เราไม่เคยรู้

May 4, 2017

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: eventpass | เผยแพร่เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙


สวัสดีค่ะแฟนเพจ EventPass แอดมินมีเรื่องราวดีๆ อยากถ่ายทอดให้ผู้อ่านทุกคนได้ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมทั้งร่วมชมมหกรรมศิลปะ “ด้วยรักและภักดี ยิ่งชีวี ตราบนิรันดร์” โดยจัดแสดงงานจิตรกรรมและประติมากรรม ที่เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มากกว่า ๒๐๐ ผลงาน ของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินยอดเยี่ยม ศิลปินชั้นนำทั่วประเทศ

พร้อมแล้วแอดมินขอเชิญทุกท่านร่วมอ่าน ๙ เรื่อง ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่เราอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนไปพร้อมกันค่ะ

๑. -ในหลวงใส่นาฬิกาเรือนละ ๗๕๐ บาท เสื้อผ้าทรงมีไม่กี่ชุด ทรงใช้จนเปื่อยซีด-

ตามถ้อยคำที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เคยเล่าไว้ถึงความประหยัด และความพอเพียงของในหลวง ร.๙ ไว้ว่า

“ครั้งหนึ่ง ผมพยายามจะแอบดูว่าพระองค์ท่านใส่นาฬิกายี่ห้ออะไร จนพระองค์ท่านรู้สึกได้ว่าผมพยายามอยากจะดูยี่ห้อ ท่านจึงยื่นข้อพระหัตถ์มาให้ดูตรงหน้า จึงทราบว่าพระองค์ ท่านใส่นาฬิการาคาเพียงเรือนละ ๗๕๐ บาท เท่านั้น ซึ่งก็เดินเหมือนกันกับนาฬิกาเรือนแพง แม้กระทั่งฉลองพระองค์ ก็ทรงมีไม่กี่ชุด ทรงใช้จนเปื่อยซีด”

๒. -ทุกข์ยามดึก-

พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพระดาบส อดีตอธิบดี กรมไปรษณีย์โทรเลข เล่าว่า การที่ได้ทรงพระกรุณารับฟังและติดต่อทางวิทยุตำรวจเป็นประจำ จึงทรงทราบความลำบาก ความเดือดร้อนของข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย ตำรวจประจำตู้ยามบางคนคับแค้นใจ เกี่ยวกับปัญหาครอบครัว ปัญหาการครองชีพ เมื่อเสพสุราแล้วครองสติไม่ได้ ไม่รู้จะระบายความในใจกับใครจึงได้พล่ามบรรยายมาทางวิทยุ บางคนหลับยามไม่พอ กดคีย์ไมโครโฟนค้าง ทำให้มีเสียงกรนออกอากาศมาด้วย

บางคนตะโกนร้องเพลงลูกทุ่งออกอากาศมาเป็นการแก้เหงาก็มี และถือได้ว่าโชคดี คือ ศูนย์ควบคุมเครือข่ายตำรวจแห่งชาติ “ปทุมวัน” กล่าวคือ ในยามดึกวันหนึ่ง พนักงานวิทยุคนหนึ่งได้ระบายความเดือดร้อนเนื่องจากหิวโหย ไม่สามารถหาอาหารรับประทานได้เพราะต้องเข้าเวร เมื่อในหลวง ร.๙ ทรงรับฟัง แล้วทรงสงสาร จึงได้รับสั่งทางวิทยุกับผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานโดยตรงว่า “โปรดเกล้าฯ พระราชทานตู้เย็นเพื่อเก็บอาหารสำรองสำหรับเวรยามดึกให้ ๑ ตู้”

๓. -เราจับได้แล้ว-

ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เล่าว่าครั้งหนึ่งในงานนิทรรศการ “ก้าวไกลไทยทำ” วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ “The BOI Fair 1995 commemorates the 50th Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s reign”

หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามศาลาการแสดงต่างๆ ก็มาถึงศาลาโซนี่ (อิเล็กทรอนิกส์) ภายในศาลาแต่งเป็น “พิภพใต้ทะเล” โดยใช้เทคนิคใหม่ล่าสุด “Magic Vision” น้ำลึก ๒๐,๐๐๐ league จะมีช่วงให้แลเห็นสัตว์ทะเลว่ายผ่านไปมา ปลาตัวเล็กๆ สีสวยจะว่ายน้ำเข้ามาอยู่ตรงหน้า ข้อสำคัญเขาเขียนป้ายไว้ว่า ถ้าใครจับปลาได้เขาจะให้เครื่องรับโทรทัศน์ พวกเราไขว่คว้าเท่าไหร่ก็จับปลาไม่ได้ เพราะเป็นเพียงแสงเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า “เราจับได้แล้ว” พร้อมทั้งทรงยกกล้องถ่ายรูปชูให้ผู้บรรยายดู แล้วรับสั่งต่อ “อยู่ในนี้” ต่อจากนั้นคงไม่ต้องเล่า เพราะเมื่ออัดรูปออกมา ก็จะเป็นภาพปลา และจับต้องได้ บริษัทโซนี่จึงต้องน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องรับโทรทัศน์ตามที่ประกาศไว้

๔. -ฝนหลวง-

คราวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” (Artificial Rain) ให้กับ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ

ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒

ขั้นตอนการทำฝนหลวง (แบบย่อๆ)
๑) ก่อกวน – กระตุ้นให้เมฆรวมตัว
๒) เลี้ยงให้อ้วน – เพิ่มความหนาแน่นให้กลุ่มเมฆฝน
๓) โจมตี – เพิ่มขนาดเม็ดน้ำในเมฆและตกเป็นฝนในที่สุด

๕. -ไฟดับ-

มีอยู่ปีหนึ่งที่ในหลวงเสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บังเอิญว่ามีเหตุขัดข้องบางประการ ทำให้อธิการบดีอ่านรายชื่อบัณฑิตขาดตอน และต้องรีบหาว่าอ่านรายชื่อไปถึงไหนแล้ว ปรากฎว่า ในหลวงท่านทรงจำได้ ท่านเลยตรัสกับอธิการไปว่า “เมื่อกี้นี้ ชื่อ … เขารับไปแล้ว”

และมีอีกปีหนึ่ง ขณะที่พระราชทานปริญญาบัตรอยู่ดีๆ ไฟดับชั่วขณะ ทำให้บัณฑิตคนหนึ่ง พลาดโอกาสครั้งสำคัญในการถ่ายรูป พอในหลวงทรงพระราชทานปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะให้พระบรมราโชวาท ท่านทรงให้อธิการบดีเรียก บัณฑิตคนนั้นมารับพระราชทานอีกครั้ง เพื่อจะได้มีรูปไว้เป็นที่ระลึก ตื้นตันกันถ้วนทั่วทั้งหอประชุม

๖. -ในหลวงใส่ฉลองพระบาทคู่ละ ๓๐๐-๔๐๐ บาท-

นอกจากนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ยังเล่าถึงฉลองพระบาทของในหลวง ร.๙ ที่หลายคนหากทราบถึงราคาคงจะตกใจ เพราะคู่ละ ๓๐๐-๔๐๐ บาท เท่านั้น อีกทั้งฉลองพระบาทของพระองค์ยังถูกนำส่งไปซ่อมแล้วซ่อมอีกที่ร้านเล็กๆ ใกล้วัง

ขณะที่ข้าราชบริพารใส่รองเท้าคู่ละ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาท แต่เวลาพระองค์ทรงออกเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ห่างไกล ที่สุดแล้ว ข้าราชบริพารก็เดินตามพระองค์ไม่ทันอยู่ดี พระองค์ท่านมักจะตรัสถึงสาเหตุที่ไม่จำเป็นต้องมีฉลองพระบาทมากมาย “เวลาเดิน คนเราใส่รองเท้าได้คู่เดียว”

๗. -วงดนตรีส่วนพระองค์-

เมื่อเสด็จนิวัติประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เพราะระหว่างนั้นที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้ทรงรวบรวมพระประยูรญาติบางองค์และพระสหายสนิทมาเล่นดนตรีกัน และพระราชทานชื่อวงนี้ว่า “ลายคราม” ขึ้นเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุกำลัง ๑๐๐ วัตต์ ซึ่งมีทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้ง “สถานีวิทยุ อ.ส.” ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ตัวอักษรย่อ “อ.ส.” ทรงนำมาจากคำว่า “พระที่นั่งอัมพรสถาน”) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางให้ความบันเทิง และสาระประโยชน์ตลอดจนข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน

ต่อมาได้ย้ายมาตั้งในบริเวณสวนจิตรลดา และมีการปรับปรุงวงดนตรีลายคราม เนื่องจากนักดนตรีกิตติมศักดิ์เหล่านั้นเริ่มทรงพระชรามากขึ้น ไม่สามารถมาร่วมเล่นดนตรีได้อย่างเต็มที่ จนเหลือแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ศ.แมนรัตน์ เท่านั้น ศ.แมนรัตน์ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหานักดนตรีเข้ามาถวายงานเพิ่มเติมจนครบวงให้สามารถเล่นต่อไปได้ จึงได้รับพระราชทานชื่อวงใหม่นี้ว่า “วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์”

๘. -บทเรียนจากการนับข้าวสาร-

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระชนมายุ ๘ พรรษานั้น ได้เคยทูลถามพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ว่า ข้าวสารหนึ่งกระสอบมีกี่เม็ด ทรงอธิบายว่า “ข้าวสาร ๑ กระสอบ มีน้ำหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม กิโลกรัมหนึ่ง มีเครื่องชั่งวัดได้ ๑๐ ขีด แล้วก็นับข้าวสารที่ตวงมานั้นมีกี่เม็ด แล้วก็เอา ๑๐ คูณ เสร็จแล้วเอา ๑๐๐ คูณ ผลลัพธ์อีกทีก็จะได้จำนวนเม็ดข้าวใน ๑ กระสอบ”

สมเด็จพระเทพฯ ทรงทูลว่า ไม่อยากรู้แล้ว” พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ สอนว่า “ไม่ได้หรอก หากถามก็แสดงว่าอยากรู้ ดังนั้นจงไปหาข้าวสารมาตวงและนับเสีย เมื่อได้ผลเป็นอย่างไรให้มาบอกด้วย เพราะว่าก็อยากรู้เหมือนกัน”

๙. -“เจลลี่ พระราชทาน” อาหารเพื่อผู้ป่วย จากน้ำพระทัยของในหลวง ร.๙-

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพและสาธารณสุข ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีพอย่างเป็นสุข ดังนั้นเมื่อมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทราบว่าสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความสนใจอยากทำอาหารเจลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่กลืนอาหารไม่ได้ พระองค์จึงรับสั่งให้สนับสนุน ด้วยการเป็นผู้ออกทุนวิจัยให้ทั้งหมด และจัดตั้งเป็นโครงการ จนทุกอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากอาหารเจลพระราชทานจะมีความเนียนนุ่ม เคี้ยวกลืนได้ง่าย และเพียบพร้อมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว ยังมีรสชาติให้เลือกหลากหลายถึง ๙ รสชาติ เช่น แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ข้าวหอมมะลิ ข้าวมันไก่ มะม่วง และชานมเป็นต้น แต่รสชาติที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการอุตสาหกรรมสำหรับแจกจ่ายให้ประชาชน จะมีเพียงรสมะม่วงและรสชานม นอกจากนี้ยังต้องรสชาติดีอีกด้วย ทรงย้ำว่า “อาหารผู้ป่วยดีอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอร่อยด้วย เพราะผู้ป่วยมีความทุกข์ทางร่างกายอยู่แล้ว” แม้พระองค์จะทรงพระประชวร แต่ทรงยังห่วงใยประชาชนให้พ้นทุกข์พ้นทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บอยู่ตลอดเวลา

แอดมินอยากเชิญชวนท่านผู้อ่านไปชมมหกรรมศิลปะ “ด้วยรักและภักดี ยิ่งชีวี ตราบนิรันดร์” ซึ่งจัดขึ้นทั้งที่ “ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์” และ “ซีคอน บางแค”

สำหรับตอนนี้ที่แอดมินนำมาเสนอเป็นบรรยากาศที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ค่ะ

 

ภายในงานยังมีจำหน่ายภาพรีปริ้นท์จาก ๙ ศิลปินชั้นนำของเมืองไทย และจำหน่ายเสื้อรุ่นลิมิเต็ด อิดิชั่น ปักหมายเลข ๙ ที่รังสรรค์ขึ้นโดยศิลปินแห่งชาติ อ.ช่วง มูลพินิจ (จำนวนจำกัด) รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา โรงพยาบาลศิริราช

และพบกับการสรรค์สร้างผลงานกราฟฟิตี้ “พ่นสาย ลายสี” พระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จากศิลปินกราฟิตี้ชื่อดัง Mr.Tokio Aoyama ศิลปินกราฟฟิตี้ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น และคุณพัชรพล แตงรื่น (Alex Face) ศิลปินกราฟฟิตี้คนไทยที่ดังระดับโลก

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔ พฤศจิกายน ถึง ๕ ธันวาคมนี้นะคะ อย่าลืมหาเวลาไปชมงานนะคะ พบกันใหม่รีวิวหน้าค่ะ


Post Views: 320
  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Tags: นิทรรศการ, พระบรมรูป, ภาพรัชกาลที่ ๙, รัชกาลที่ ๙

Related Posts

เชิญชม สุดยอดศิลปะไทยในรัชกาลที่ ๙ สัมผัสงานศิลป์ ๓ สาขา ๑๒-๒๑ ต.ค. นี้

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: kapook.com | เผยแพร่เมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เชิญชม สุดยอดศิล ...

นิทรรศการภาพวาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ “อาทิตย์ คิดถึงพ่อ”

ผมติดตามงานของครูเบิร์ดมานานแล้ว ชอบภาพทุกภาพที่ครูวาด สีสันสดใส ภาพสวยงามราวกับมีชีวิต วันนี้ค ...

พระกริ่งทรงผนวช “ภูมิพโล ภิกขุ มหาราชา พระราชาผู้ทรงธรรม”

ความเป็นมาของการสร้างพระกริ่งทรงผนวช “ภูมิพโล ภิกขุ มหาราชา พระราชาผู้ทรงธรรม” โดย ...

พระกริ่งทรงผนวช “ภูมิพโล มหาราชา”

พระกริ่งทรงผนวช “ภูมิพโล มหาราชา” พระกริ่งทรงผนวช “ภูมิพโล มหาราชา” เป็ ...

Comments

comments

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

About Mongkol Pandin

  • รับเช่าล็อกเก็ตและพระในหลวง
  • ขอบคุณผู้เขียนและเจ้าของภาพ
  • เสาะหามาสะสม
  • รู้จักกับเรา

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙

  • พระราชประวัติ ในหลวง รัชกาลที่ ๙
  • พระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจ
  • พระบรมราโชวาท
  • พระราชนิพนธ์ ร.๙
  • ภาพวาดฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ ๙
  • ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ร.๙
  • พระราชพิธีพระบรมศพ ร.๙
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล ร.๙
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงสร้าง
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงเสด็จฯ เททอง
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงผนวช
    • พระเครื่องที่มีพระปรมาภิไธย ภปร.
    • พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา
    • พระบรมรูปรัชกาลที่ ๙
  • ล็อกเก็ตรัชกาลที่ ๙
  • ภาพในหลวง รัชกาลที่ ๙
  • เข็มกลัดรัชกาลที่ ๙
  • เหรียญรัชกาลที่ ๙
  • ๕ ธันวามหาราช
  • หนังสือเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๙
  • ของสะสมเกี่ยวกับ ร.๙

พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

  • รัชกาลที่ ๕
  • รัชกาลที่ ๙
  • รัชกาลที่ ๑๐
  • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
  • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

ล็อกเก็ต

  • รับซื้อล็อกเก็ต
  • ล็อกเก็ตหลังลายเซ็น รัชกาลที่ ๙
  • ล็อกเก็ตวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
  • ล็อกเก็ตพระมหามณฑป
  • ล็อกเก็ตวัดญาณสังวราราม
  • ล็อกเก็ตจตุรเสนาสมาคม
  • ล็อกเก็ตศูนย์รวมเสียงชาวพุทธ
  • ล็อกเก็ตพระเกจิ
  • ล็อกเก็ตรูปถ่าย
  • ล็อกเก็ตไม่ทราบที่

พระเครื่องและวัตถุมงคล

  • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

ศิลปะและของสะสม

  • ของที่ระลึกและของสะสม
  • ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย
  • เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก
  • แสตมป์ โปสการ์ด ตราประทับ
  • กระปุกออมสิน
  • ธนบัตร
  • ปฏิทิน
  • พระบรมรูป
  • ศิลปะ
  • หนังสือ

เก็บมาเล่า

  • บันทึกเพื่อศึกษา
  • ประวัติการจัดสร้าง
  • นักสะสม

ผู้สนับสนุน

ผู้เยี่ยมชม

Flag Counter

เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุมงคลและของที่ระลึกเกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ ๙ เกิดขึ้นจากศรัทธาจิต และความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙

Contact Me.

ติดต่อกับเราได้ง่ายๆ เพียงกด Add Friends ที่สติ๊กเกอร์ด้านล่าง

Facebook Page.

มงคลแผ่นดิน : วัตถุมงคลในหลวง

Copyright © 2017 Design by mongkolpandin.com
  • หน้าแรก
  • ขอบคุณผู้เขียน
  • รู้จักกับเรา
  • ติดต่อเรา