• หน้าหลัก
  • รับเช่า – รับซื้อ
  • มุมแบ่งปัน
  • หน้าหลัก
  • รับเช่า – รับซื้อ
  • มุมแบ่งปัน
Homeพระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๙) ...
Previous Next

พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๙)

April 14, 2017

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

พระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน

“พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ “พระกำลังแผ่นดิน” เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๓

“พระดีที่มีคุณค่าไม่ต่างจากเพชร” ใครๆ ก็อยากได้มีไว้ในครอบครอง ที่เป็นขวัญกำลังใจ มหามิ่งมงคลของพสกนิกรไทยทั้งประเทศ

จำนวนจัดสร้าง “พระสมเด็จจิตรลดา” มีทั้งสิ้นประมาณ ๒,๔๐๐ องค์ ทุกองค์มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นาม สกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์

โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า “ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ”

ขณะปิดทองให้ตั้งจิตเป็นสมาธิอธิษฐานขอให้ความดีงามที่มีอยู่ในตัวจงดำรงอยู่ต่อไป และขอให้ยังความเป็นสิริมงคล จงบังเกิดแก่ตัวยิ่งขึ้น อีกทั้งให้ประสบแต่ความสุขความเจริญในทางที่ดีงาม

การปิดทองด้านหลังองค์พระ เป็นปริศนาธรรมบางอย่างที่ทรงมีพระราชดำริในการปลูกฝังนิสัยให้ผู้รับพระราชทานนำไปคิด เป็นทำนองว่า การที่บุคคลใดจะทำกุศลหรือประโยชน์สาธารณะใดๆ พึงมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยแท้จริง มิได้หวังลาภยศ ชื่อเสียง ตามคติโบราณที่ว่า “ปิดทองหลังพระ”

สำหรับความเป็นมาของการสร้าง “พระสมเด็จจิตรลดา” ในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงมีพระราชดำริให้สร้าง “พระพุทธนวราชบพิตร” ในราวปีพุทธ ศักราช ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เข้ามาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปพิมพ์นี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตรวจพระพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

พระพุทธรูปพิมพ์ที่แกะถวายนั้น เป็นพระพุทธรูปพิมพ์นั่งปางสมาธิแบบขัดราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับเหนือดอกบัวบาน บน ๕ กลีบ ล่าง ๔ กลีบ รวมเป็น ๙ กลีบ รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร สูง ๓ เซนติเมตร และองค์เล็กขนาดกว้าง ๑.๒ เซนติเมตร สูง ๑.๙ เซนติเมตร

พระองค์ได้ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง โดยทรงใช้เวลาหลังจากทรงพระอักษร และทรงงาน อันเป็นพระราชภารกิจในตอนดึก

ประกอบด้วยผงมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งส่วนในพระองค์ และวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัดที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน

ส่วนความแตกต่างของพุทธลักษณะขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่ในแต่ละปี มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถพอจะแยกจุดเด่นๆ ขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่ ตั้งแต่ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๓

สังเกตดูตามลักษณะพิมพ์ทรง ความคมลึกชัดขององค์พระในแต่ละปีไม่เท่ากัน ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการที่ทรงถอดจากแม่พิมพ์หินเป็นแม่พิมพ์ยาง และตกแต่งแม่พิมพ์ ดูจากเนื้อสีวัสดุที่เป็นส่วนผสม ทำให้มวลสารวัตถุมงคลต่างๆ แข็งตัวรวมกันเป็นองค์พระ ซึ่งพระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่จะมีสีสันขององค์พระในแต่ละปีค่อนข้างจะดูแตกต่างกัน

ลักษณะด้านหลัง ด้านข้างสันขอบขององค์พระ และความหนาความบางขององค์พระ ซึ่งในแต่ละปีจะมีความแตกต่างกัน สังเกตได้ชัดเจนพอสมควร และลักษณะการเก็บงานความเรียบร้อยหลังจากทรงเทพิมพ์เป็นองค์พระแล้ว

สำหรับพุทธลักษณะขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็ก ตามประวัติที่ทรงสร้างประมาณว่ามีไม่มากนัก และทรงมีการพระราชทานให้เพียง ๒ ปี เท่านั้น คือปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ดูเหมือนจะหาความแตกต่างไม่ได้ สำหรับพระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็กในแต่ละปี ปัจจุบันความนิยมใน “พระสมเด็จจิตรลดา” มีมากขึ้นเรื่อยๆ


Post Views: 346
  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Tags: พระสมเด็จจิตรลดา, พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา, พระในหลวง, พระในหลวงทรงสร้าง, รัชกาลที่ ๙

Related Posts

พระพุทธชินสีห์ ทนฺโต เสฏฺโฐ ปี ๒๕๓๓ พิมพ์ใหญ่ เนื้อพิเศษ แจกเฉพาะศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์

พระพุทธชินสีห์ ทนฺโต เสฏฺโฐ ปี ๒๕๓๓ พิมพ์ใหญ่ เนื้อพิเศษ แจกเฉพาะศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์ แก่ ...

พระผงพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระชนมายุครบ 4 รอบ พ.ศ. 2519 วัดบุพพาราม (วัดสวนดอก) จ.เชียงใหม่

ในช่วงที่ผมเริ่มสะสมบูชาพระเครื่องและวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้น ผมก็ไม่เคยทราบ ...

อรหังกลีบบัว

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา : ณัฐพล เจริญต่อกิจ | เผยแพร่เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ถ้าอ ...

โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๔๘

โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๔๘ รายได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพ ...

Comments

comments

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

About Mongkol Pandin

  • รับเช่าล็อกเก็ตและพระในหลวง
  • ขอบคุณผู้เขียนและเจ้าของภาพ
  • เสาะหามาสะสม
  • รู้จักกับเรา

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙

  • พระราชประวัติ ในหลวง รัชกาลที่ ๙
  • พระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจ
  • พระบรมราโชวาท
  • พระราชนิพนธ์ ร.๙
  • ภาพวาดฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ ๙
  • ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ร.๙
  • พระราชพิธีพระบรมศพ ร.๙
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล ร.๙
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงสร้าง
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงเสด็จฯ เททอง
    • พระเครื่อง ร.๙ ทรงผนวช
    • พระเครื่องที่มีพระปรมาภิไธย ภปร.
    • พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา
    • พระบรมรูปรัชกาลที่ ๙
  • ล็อกเก็ตรัชกาลที่ ๙
  • ภาพในหลวง รัชกาลที่ ๙
  • เข็มกลัดรัชกาลที่ ๙
  • เหรียญรัชกาลที่ ๙
  • ๕ ธันวามหาราช
  • หนังสือเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๙
  • ของสะสมเกี่ยวกับ ร.๙

พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

  • รัชกาลที่ ๕
  • รัชกาลที่ ๙
  • รัชกาลที่ ๑๐
  • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
  • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

ล็อกเก็ต

  • รับซื้อล็อกเก็ต
  • ล็อกเก็ตหลังลายเซ็น รัชกาลที่ ๙
  • ล็อกเก็ตวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
  • ล็อกเก็ตพระมหามณฑป
  • ล็อกเก็ตวัดญาณสังวราราม
  • ล็อกเก็ตจตุรเสนาสมาคม
  • ล็อกเก็ตศูนย์รวมเสียงชาวพุทธ
  • ล็อกเก็ตพระเกจิ
  • ล็อกเก็ตรูปถ่าย
  • ล็อกเก็ตไม่ทราบที่

พระเครื่องและวัตถุมงคล

  • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

ศิลปะและของสะสม

  • ของที่ระลึกและของสะสม
  • ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย
  • เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก
  • แสตมป์ โปสการ์ด ตราประทับ
  • กระปุกออมสิน
  • ธนบัตร
  • ปฏิทิน
  • พระบรมรูป
  • ศิลปะ
  • หนังสือ

เก็บมาเล่า

  • บันทึกเพื่อศึกษา
  • ประวัติการจัดสร้าง
  • นักสะสม

ผู้สนับสนุน

ผู้เยี่ยมชม

Flag Counter

เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุมงคลและของที่ระลึกเกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ ๙ เกิดขึ้นจากศรัทธาจิต และความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ ๙

Contact Me.

ติดต่อกับเราได้ง่ายๆ เพียงกด Add Friends ที่สติ๊กเกอร์ด้านล่าง

Facebook Page.

Copyright © 2017 Design by mongkolpandin.com
  • หน้าแรก
  • ขอบคุณผู้เขียน
  • รู้จักกับเรา
  • ติดต่อเรา